หลังจากอินเทลใช้แผนการพัฒนาหน่วยประมวลผลในรูปแบบ Tick-Tock ทำให้เทคโนโลยีหน่วยประมวลผลในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนรวดเร็วขึ้นมาก อย่างในวันนี้ทีมงานไซเบอร์บิซก็ได้รับชุดทดสอบ Intel "Ivy Bridge" ในรูปแบบเดสก์ท็อปพีซีที่เน้นจุดเด่นในเรื่องกราฟิกออนชิป Intel HD Graphics 4000 มาทดสอบรีดเค้นประสิทธิภาพอีกครั้ง แต่ก่อนจะไปรับชมผลการทดสอบ ทีมงานจะขออธิบายเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงใน Ivy Bridge กันก่อน เปิดหัวใจ Ivy Bridge "Intel Ivy Bridge" เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 23 เมษายน 2012 ที่ผ่านมา โดยเปิดตัวพร้อมกับชิปเซ็ทซีรีย์ 7 หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ Intel 7 Series (Panther Point) Chipset สำหรับการเปลี่ยนแปลงใน Intel Ivy Bridge ทางทีมงานขอแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักได้แก่ ส่วนแรกในเรื่องหน่วยประมวลผลจะเปลี่ยนเทคโนโลยีเป็น 22 นาโนเมตรบนทรานซิสเตอร์แบบ 3 มิติจากเดิมเป็น 2 มิติ (และถือเป็นหน่วยประมวลผล คอร์ ไอ ยุคที่ 3) ที่ทางอินเทลปรับปรุงเรื่องประหยัดพลังงานให้ดีขึ้น และรองรับ PCI Express 3.0 พร้อมเปลี่ยนกราฟิกชิปออนบอร์ดเป็น Intel HD Graphics 4000 ซึ่งมีการอัปเกรดในเรื่องการรองรับชุดคำสั่งกราฟิก DirectX 11, OpenCL 1.1 OpenGL 3.1, HTML5, รองรับการต่อ 3 จอภาพพร้อมกัน และรองรับการประมวลผลภาพ 3 มิติผ่านเทคโนโลยี Intro 3D รวมถึงมีการปรับให้รองรับกับฟีเจอร์ Intel Wireless Display ให้ดีขึ้นกว่าใน Sandy Bridge มาในส่วนที่สองสำหรับรายละเอียดชิปเซ็ทซีรีย์ 7 ซึ่งเปิดตัวพร้อมกับหน่วยประมวลผล Ivy Bridge จะมีการปรับปรุงจากรุ่นก่อนหน้าค่อนข้างมาก เริ่มจากส่วนสำคัญคือในชิปซีรีย์ 7 จะรองรับ USB 3.0 ได้ในตัวเอง นอกจากนั้นสิ่งที่นักตัดต่อภาพยนตร์รอมานานอย่าง Intel Thunderbolt ก็พร้อมรองรับแล้วในชิปเซ็ทตระกูลใหม่นี้ ในส่วนการปรับเปลี่ยนอื่นๆ ก็เริ่มจากการรองรับ High Speed SATA 6GB/s สำหรับ SSD และ PCI Express 3.0 รวมถึงชิปเซ็ทใหม่นี้จะรองรับการทำงานร่วมกับชิป Wireless Centrino รุ่นใหม่ เช่นรุ่น Advanced-N 6235 สำหรับการทำงานร่วมกับหน่วยประมวลผล ชิปเซ็ทซีรีย์ 7 จะใช้งานร่วมกับหน่วยประมวลผล 32 นาโนเมตร Sandy Bridge และ 22 นาโนเมตร Ivy Bridge ได้ สุดท้ายในส่วนของฟีเจอร์ที่มีในชิปเซ็ทซีรีย์ 7 จะประกอบด้วย Intel Anti Theft Technology 4.0, Intel vPro 2012, HDMI 1.4a รวมถึงฟีเจอร์ปรับปรุงใหม่ดังนี้ Intel Smart Response Technology เป็นระบบที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถนำ SSD มาใช้งานร่วมกับ HDD จานหมุนได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน Intel Rapid Start Technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เด่นในเรื่อง Fast Resume หรือความหมายก็คือ ระหว่างผู้ใช้กำลังทำงานและจำเป็นต้องปิดเครื่องเพื่อย้ายโน้ตบุ๊กหรือคอมพิวเตอร์ไปที่อื่นกระทันหัน ผู้ใช้สามารถกดสวิตซ์ปิดเครื่อง ถอดปลั๊กหรือแบตเตอรีออก จากนั้นเมื่อเชื่อมต่อใหม่ระบบจะ Resume ค่าทั้งหมดกลับมาในเวลาไม่เกิน 5 วินาที ทำให้ผู้ใช้สามารถทำงานต่อได้โดยไม่ต้องเปิดโปรแกรมใหม่หมด Intel Smart Connect Technology จะเป็นระบบดึง Feed ข้อมูลเช่นอีเมล์ ทวิตเตอร์ ข้อความต่างๆ ได้เมื่อคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊กอยู่ในสถานะ Hibernate โดยการทำงานจะใช้เทคโนโลยี Smart System Energy Management ในการจัดการทั้งหมด ซึ่งระหว่างปิดเครื่องระบบจะยังเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และมีการดาวน์โหลดข้อมูลเหล่านั้นมาเก็บไว้ในตัวเครื่อง และเมื่อผู้ใช้เปิดคอมพิวเตอร์อีกครั้ง ก็จะสามารถข้อดูข้อมูลเหล่านั้นได้ทันที บททดสอบ Ivy Bridge จากอินเทล สำหรับวันนี้ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับชุดทดสอบ Intel Ivy Bridge จากอินเทลมาทดสอบ ซึ่งในชุด ประกอบด้วย เมนบอร์ด Prototype : Intel Desktop Board DZ77GA-70K Extreme Series และหน่วยประมวลผล Intel Core i7 3770K ความเร็ว 3.50GHz การออกแบบและสเปก สำหรับเมนบอร์ด DZ77GA-70K จะเป็นบอร์ด ATX ที่จัดอยู่ในรุ่นท็อปฟอร์มของอินเทล โดยรูปลักษณ์ของบอร์ดจะใช้สีดำตัดสีน้ำเงิน ซึ่งถือเป็นธีมหลักของ Intel Extreme พร้อมโลโก้หัวกะโหลกเพิ่มความดุดัน ส่วนในเรื่อง Socket ซีพียูยังเป็น LGA1155 แบบเดียวกับ Sandy Bridge นอกจากนั้นตัวเมนบอร์ดยังมาพร้อมเทคโนโลยี Lucidlogix Virtu Universal และชิปเซ็ทขับเคลื่อน Intel Z77 Express ในส่วน Socket จะให้ PCI Express 2.0 x1 มา 2 พอร์ต PCI Express 3.0 x16 - 2 พอร์ต (รองรับ ATI CrossFireX และ NVIDIA SLI ที่ความเร็ว x8, x8) PCI Express 2.0 x4 จำนวน 1 พอร์ต และ PCI Socket จำนวน 1 พอร์ต สำหรับพอร์ตเชื่อมต่อ SATA จะให้พอร์ต Serial ATA 6.0 Gb/s มาจำนวน 4 พอร์ต และ Serial ATA 3.0 Gb/s อีก 4 พอร์ต พร้อมรองรับ Intel Rapid Storage Technology สำหรับ RAID 0, 1, 5 และ 10 ส่วนพอร์ต USB ภายในจะสามารถเชื่อมต่อ SuperSpeed USB 3.0 ได้จำนวน 4 พอร์ต และ USB 2.0 จำนวน 6 พอร์ต มาที่ช่องใส่หน่วยความจำ (แรม) จะรองรับแรม DDR3 SDRAM Dual แบบ 240 พินจำนวน 4 ช่อง โดยจะรองรับแรม DDR3 ความเร็ว 1,600MHz/1,333MHz/1,066MHz สูงสุดที่ 32GB มาที่พอร์ต Connector เชื่อมต่อด้านหลังจะประกอบด้วย จากซ้ายมือ จะเป็นช่อง PS/2 สำหรับเชื่อมต่อเมาส์และคีย์บอร์ดแบบเก่า ถัดมาจะเป็นพอร์ต USB 2.0 (สีเหลือง) แรงดันไฟสูงสำหรับใช้ชาร์จอุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์ ถัดมาจะเป็นพอร์ต IEEE 1394a - USB 2.0 2 พอร์ต - eSATA 1 พอร์ต - ปุ่ม Back to BIOS สำหรับรีเซ็ทไบออส - Dual LAN Port - USB 3.0 จำนวน 4 พอร์ต - HDMI - ส่วนสำหรับเชื่อมต่อลำโพงในระบบ Intel High Definition Audio ซึ่งรองรับระบบเสียง 10 แชนแนล และ Dolby Home Theatre V4 และเนื่องจาก Intel Desktop Board DZ77GA-70K เป็นบอร์ดรุ่นท็อปเน้นโอเวอร์คล็อกและจับกลุ่มผู้ใช้ระดับฮาร์ดคอร์ทำให้ทางอินเทลได้ใส่ไฟแสดงสถานะการทำงานของบอร์ดและสวิตซ์ปิด-เปิดเมื่อต้องการใช้งานเป็น Testbed ไว้ด้วย สุดท้ายมาที่หน่วประมวลผล Intel Core i7 3770K จะมาพร้อมความเร็ว 3.50GHz และเมื่อใช้งาน Turbo Boost จะมีความเร็วอยู่ที่ 3.9GHz บนสถาปัตยกรรมการผลิตที่ 22 นาโนเมตร โดยจำนวนคอร์ทำงานจะอยู่ที่ 4 คอร์ 8 Threads ในส่วน SmartCache จะมีขนาด 8MB รองรับชุดคำสั่ง SSE 4.1/4.2, AVX และภายในบรรจุกราฟิก Intel HD Graphics 4000 ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 650MHz และรองรับเทคโนโลยี Intel Quick Sync Video, InTru 3D, Intel Insider, Intel Wireless Display และ Intel Clear Video HD พร้อมรองรับการเชื่อมต่อจอภาพสูงสุด 3 จอภาพพร้อมกัน ฟีเจอร์ Intel Visual Bios หลังจากช่วงประมาณกลางปีที่แล้ว UEFI และหน้าตาไบออสแบบ GUI เริ่มมีให้เห็นมากขึ้น มาวันนี้บนเมนบอร์ดของอินเทลก็ได้เวลาปรับเปลี่ยนให้รองรับกับระบบดังกล่าว โดยทางอินเทลได้ตั้งชื่อระบบเหล่านี้ว่า "Intel Visual Bios" ซึ่งทำให้การปรับแต่งค่าไบออสและการโอเวอร์คล็อกหรือแฟลชไบออสทำได้ง่ายขึ้นเพราะรองรับเมาส์และหน้าไบออสมีกราฟิกที่สวยงาม เข้าใจง่ายขึ้น Lucid Virtu Universal GPU Virtualization ถือว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่ LucidLogix พัฒนาขึ้นตั้งแต่ยุค Sandy Bridge เพื่อให้กราฟิกการ์ดภายนอกและกราฟิกชิป iGFX สามารถใช้งานร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ เช่น ถ้าผู้ใช้ต้องการแปลงไฟล์ภาพยนตร์ระหว่างเล่นเกม ระบบนี้จะเข้ามาจัดการแบ่งการทำงานโดยอาจให้ iGFX ที่มี Intel Quick Sync แปลงภาพยนตร์ไป ในขณะที่การเล่นเกมกราฟิกการ์ดแยกจะประมวลผล ทำให้ไม่ดึงประสิทธิภาพกัน ซึ่งซอฟต์แวร์นี้ต้องใช้ร่วมกับชิปเซ็ทอินเทลตั้งแต่ซีรีย์ 6 ขึ้นไปพร้อมซีพียู Sandy Bridge หรือ Ivy Bridge ที่มี iGFX (กราฟิกออนชิป) บรรจุอยู่ สำหรับในเวอร์ชัน Universal นอกจากจะสามารถผสานการทำงานระหว่าง iGFX และ GPU External (กราฟิกการ์ด) แล้ว ในเวอร์ชันนี้ยังสามารถสร้าง Virtual Vsync สำหรับการเล่นเกม ทำให้การเล่นเกมดูลื่นไหลขึ้น Intel Extreme Tuning บน Windows ถือเป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับพวกชอบความแรงเพราะทางอินเทลได้ปล่อยซอฟต์แวร์สำหรับโอเวอร์คล็อกผ่านวินโดว์ส โดยซอฟต์แวร์ตัวนี้จะทำให้ผู้ใช้ปรับแต่งสัญญาณนาฬิกา ตัวคูณ ความเร็วกราฟิกชิป กำลังไฟต่างๆ ได้ตามต้องการ ทดสอบประสิทธิภาพ สำหรับชุดทดสอบที่ใช้ในครั้งนี้จะประกอบด้วย CPU: Intel Core i7 3770K 3.50GHz Mainboard: Intel Desktop Board DZ77GA-70K Extreme Series RAM: G.Skill Trident 4GB Dual (2x2GB) VGA: Intel HD Graphics 4000 HDD: Intel SSD 510 250GB PSU: Tagan BZ Series 700W Monitor: Acer 1280x720p ในส่วนการทดสอบทีมงานไซเบอร์บิซจะเน้นทดสอบไปที่ Intel HD Graphics 4000 เป็นหลักมากกว่าทดสอบเรื่องโอเวอร์คล็อกและใช้กราฟิกการ์ดแรงๆ ที่คนส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสใช้งาน เพราะในบทความนี้ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านได้เข้าถึง Ivy Bridge ในแบบผู้ใช้ทั่วไปมากกว่า (เน้นง่าย ไม่ซับซ้อน ใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวันทุกคน) 3DMark 05 คะแนนทดสอบที่ได้คือ 10,300 คะแนนบนความละเอียดหน้าจอ 1,280x768 + Shader Model 3 3DMark 06 คะแนนทดสอบที่ได้คือ 7,367 คะแนนโดยแบ่งเป็นคะแนน Shader Model 2 = 2,293 คะแนน, HDR/Shader Model 3 = 3,047 คะแนน ส่วนคะแนนประมวลผลซีพียูจะอยู่ที่ 7,141 คะแนน ที่ความละเอียด 1,280x768 พิกเซล 3DMark Vantage สำหรับคะแนนทดสอบโดยรวม โปรแกรมไม่สามารถคำนวณได้ เนื่องจากการทดสอบบางขั้นตอนทำไม่สำเร็จ แต่เราก็สามารถดูจากค่าคะแนนเฟรมเรตได้ ซึ่งจากภาพจะเห็นว่าคะแนน GPU Test 1 จะอยู่ที่ 12.66fps GPU Test 2 อยู่ที่ 12.13fps Cinebench R11.5 x64 ในส่วนของการทดสอบด้วยการให้ซีพียูวาดภาพ 3 มิติผลคะแนนที่ได้คือ ในการใช้ซีพียูวาดคะแนนจะอยู่ที่ 7.50pts ส่วนกราฟิกแบบ OpenGL จะอยู่ที่ 21.07fps PCMark 7 จะทำคะแนนรวมได้ 5,553 คะแนน แบ่งเป็น Lightweight Score = 5,484 คะแนน Productivity Score = 5,253 คะแนน Creativity Score = 8,555 คะแนน Entertainment Score = 4,259 คะแนน Computation Score = 13,878 คะแนน System Storage Score = 5,401 คะแนน จากนั้นลองมาทดสอบความเร็วในการแปลงไฟล์วิดีโอร่วมกับ Intel Quick Sync Video ผ่านซอฟต์แวร์ MediaConverter 7 ซึ่งได้ผลคะแนนดังต่อไปนี้ x264 HD BENCHMARK 3.0 ในส่วนของการทดสอบการถอดรหัสไฟล์วิดีโอความละเอียด 720p จะได้ค่าดังต่อไปนี้ encoded 1442 frames, 101.46 fps, 3899.02 kb/s encoded 1442 frames, 101.92 fps, 3899.02 kb/s encoded 1442 frames, 99.50 fps, 3899.02 kb/s encoded 1442 frames, 99.39 fps, 3899.02 kb/s encoded 1442 frames, 40.31 fps, 3972.03 kb/s encoded 1442 frames, 40.30 fps, 3960.34 kb/s encoded 1442 frames, 40.31 fps, 3961.95 kb/s encoded 1442 frames, 39.98 fps, 3958.68 kb/s SiSoftware Sandra สุดท้ายสำหรับอุณหภูมิทางทีมงานได้ทดสอบในห้องพัดลม กับสต๊อกซิงค์จากอินเทล ในอุณภูมิห้องเฉลี่ยเกือบ 30 องศาเซลเซียส พบว่าค่าความร้อนทำได้ค่อนข้างน่าพอใจ โดยเฉพาะความร้อนจากซีพียูอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานมาก ทดสอบการเล่นเกม 3 มิติกับ Intel HD Graphics 4000 วิดีโอรีวิวประสิทธิภาพ Intel HD Graphics 4000 บน Intel Core i7 3770K 3.50GHz with Turbo Boost สรุป และแล้วการทดสอบก็ผ่านไปอย่างเรียบร้อย และทีมงานขอสรุปว่า สำหรับชุดทดสอบ Ivy Bridge ชุดนี้ถึงแม้จะมีเรื่องความผิดพลาดอันเนื่องมาจากบอร์ด Prototype ให้เห็นบ้าง แต่ในเรื่องประสิทธิภาพด้านประมวลผลถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ไม่แตกต่างจาก Sandy Bridge เลย (ถ้าใครมี Sandy Bridge อยู่แล้วและไม่ต้องการ HD 4000 ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไป Ivy Bridge แต่อย่างใด) แต่ถ้ามองเฉพาะ Intel HD Graphics 4000 ที่ให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า HD 3000 ใน Sandy Bridge จนเรียกได้ว่าถ้าไม่ใช่เกมเมอร์ก็สามารถใช้ HD 4000 แทนกราฟิกการ์ดได้ทันที และประหยัดไฟพร้อมประสิทธิภาพที่ดีกว่ากราฟิกการ์ดแยกหลายๆ รุ่นด้วย นอกจากนั้นในเรื่องฟีเจอร์ที่ใส่เข้ามาในชิปเซ็ทซีรีย์ 7 ถือว่าเป็นเรื่องดีและทำให้ฮาร์ดแวร์ดูน่าใช้มากยิ่งขึ้นในรอบหลายปีที่ผ่านมา และน่าจะถือเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญที่อินเทลให้ความสำคัญกับเรื่องฟีเจอร์และประสบการณ์การใช้งานร่วมกับผู้ใช้มากกว่าจะอัดแต่เรื่องความแรงเหมือนสมัยก่อน |
วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น